การไหว้เทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ถือว่าอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน และหนึ่งในเทพเจ้าทางฮินดูหรือตามคติเทวะมันตราพยากรณ์ที่คนไทยเชื่อถือและได้รับการกราบไหว้บูชาอย่างมากคือ พระพรหม นั่นเอง ซึ่งการไหว้พระพรหมนั้นเป็นความเชื่อที่ได้รับสืบทอดมาว่า ถ้าขอพรกับพระพรหมแล้ว พระพรหมจะเสกให้ได้ดังที่ใจหวัง ทำให้มีการตั้งศาลพระพรหมไว้สักการะกันมากมาย วันนี้กระปุกดอทคอมเลยมีขั้นตอนในการไหว้ศาลพระพรหมที่บ้าน วิธีการไหว้อย่างไรให้ถูกวิธี รวมถึงบทสวดมนต์หรือคาถาบูชา และของไหว้ต่าง ๆ มาฝากกันค่ะ
พระพรหม คือใคร ?
ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพรหม เป็น 1 ใน 3 มหาเทพ หรือที่รู้จักกันในนามเรียกว่า ตรีมูรติ อันประกอบด้วย พระนารายณ์ พระอิศวร และพระพรหม ที่ถือว่าเป็นผู้สรรค์สร้างสรรพสิ่งในโลก รวมถึงสวรรค์และมนุษย์
รูปลักษณ์ของพระพรหมมี 4 พักตร์ (หน้า) 4 กร (มือ) หรือบางที่ก็ว่ามี 8 กร ถือศาสตราวุธ ได้แก่ ธารพระกร (ไม้เท้า) หม้อน้ำ คัมภีร์ และดอกบัว มีลูกประคำคล้องพระศอ (คอ) มีหงส์เป็นพาหนะ นอกจากศาสตราวุธดังที่กล่าวมาแล้วนั้น พระพรหมยังมีศาสตราวุธอื่น ๆ อีก เช่น ธนู หอก กระจก สังข์ ดาบ มีด คทา จักร หรือเครื่องดนตรีต่าง ๆ ตามแต่ช่างจะสร้างสรรค์ขึ้นมา
โดยพระองค์ถือเป็นเทพที่มีคุณธรรมสูงสุด เปี่ยมไปด้วยความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ทรงรับฟังคำอธิษฐานของผู้ศรัทธาเสมอ หากผู้บูชาเป็นผู้หมั่นกระทำความดี มีจิตใจเอื้ออารี ก็จะได้รับการบันดาลพรให้มีแต่ความสุขและสมหวัง
สถานที่ตั้งศาลพระพรหม
ควรจัดตั้งศาลพระพรหมไว้ที่แจ้ง เช่น หน้าบ้านหรือหน้าอาคารของหน่วยงาน สวนหย่อมของหมู่บ้าน หรือตามสี่แยก ซึ่งที่เห็นเด่นชัดจนหลายคนผ่านไปผ่านมาต้องยกมือไหว้คือ ศาลพระพรหม ที่สี่แยกราชประสงค์ นั่นเอง โดยมีความเชื่อว่า ถ้ายิ่งมีผู้มากราบไหว้บูชาพระพรหมมากเท่าไร จะยิ่งทำให้พระพรหมมีบารมีมากขึ้นเท่านั้น และเมื่อมีบารมีมากขึ้น การขอพร ขอตรวจหวยก็จะยิ่งสัมฤทธิผลหรือสมดั่งใจหวังมากขึ้นด้วยเช่นกัน
สำหรับคนที่อยากจะบูชาพระพรหมไว้ในบ้านก็สามารถทำได้ แต่ต้องเป็นผู้ที่ประพฤติตนดีงามอยู่ในศีลในธรรมอย่างเคร่งครัด เพื่อทำให้การบูชาส่งผลดีต่อตัวเองและครอบครัวด้วย
ขั้นตอนการตั้งศาลพระพรหม
เพื่อให้การตั้งศาลพระพรหมบังเกิดผลดี มีความเจริญรุ่งเรืองแก่เจ้าของบ้านหรือกิจการ มีหลักการในการตั้งศาล ดังนี้ ที่ตั้งศาลต้องเป็นบริเวณพื้นดิน โดยเป็นพื้นที่ยกสูงขึ้นมาเล็กน้อยประมาณ 1 คืบ หากไม่มีพื้นที่ที่เป็นพื้นดิน สามารถตั้งศาลบนชั้นดาดฟ้าได้ แต่ใด ๆ ก็ตามบริเวณนั้นจะต้องไม่มีเงาของตัวบ้านทอดลงมาทับ
ที่ตั้งของศาลควรอยู่ห่างจากบริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ และไม่ควรหันหน้าศาลเข้าสู่บริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ
ไม่ควรตั้งศาลให้หันหน้าตรงกับประตูด้านหน้าบ้าน และตั้งศาลให้ห่างจากรั้วหรือกำแพงอย่างน้อย 1 เมตร รวมถึงไม่ควรตั้งศาลให้อยู่ใกล้กับตัวอาคารมากนัก
ความสูงของศาล ควรสูงเหนือระดับสายตาขึ้นไปเล็กน้อย
ควรเลือกใช้เทวาลัยที่เปิดออกทั้ง 4 ทิศ
ที่สำคัญ ทำเลและทิศในการตั้งศาลต้องเลือกให้เหมาะสม โดยการเชิญพราหมณ์มาดูสถานที่และฤกษ์ยามในการตั้งศาลก่อน
เมื่อกำหนดพื้นที่ในการตั้งศาลพระพรหมเรียบร้อย ก็มาถึงขั้นตอนการตั้งศาล ดังนี้ เตรียมอุปกรณ์ตั้งศาล เช่น องค์พระพรหม ตุ๊กตาชาย-หญิง ตุ๊กตาช้าง-ม้า กระถางธูป แจกัน เชิงเทียน ธูป เทียน ด้ายสายสิญจน์ และอื่น ๆ รวมถึงเครื่องสังเวย เช่น บายศรี ผลไม้มงคล ขนมคาว-หวาน หมาก-พลู พวงมาลัยดาวเรือง และดอกไม้สด ให้พร้อม
เมื่อถึงฤกษ์ตามวันที่กำหนด พราหมณ์ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยจะวางสิ่งของมงคล เช่น แผ่นเงิน-ทอง-นาค อิฐเงิน-ทอง-นาค พลอยนพเก้า ข้าวตอก ถั่ว งา ดอกไม้ 9 สี และไม้มงคล 9 ชนิด ไว้ในฐานชิ้นล่างสุดของศาลพระพรหม
พราหมณ์สวดมนต์ทำพิธี และอัญเชิญองค์พระพรหมขึ้นสู่ศาล
เมื่อทำพิธีเสร็จแล้ว เชิญเจ้าของสถานที่ไหว้และแจกจ่ายอาหารให้กับบริวาร
ของไหว้ศาลพระพรหม
การไหว้พระพรหมนั้นสามารถไหว้ได้ทุกวันตามความเหมาะสมและความสะดวกของผู้ไหว้ แต่อย่างไรก็ตาม มีความเชื่อนับตั้งแต่อดีตว่าไม่นิยมไหว้พระพรหมในวันพระ เนื่องจากพระพรหมนั้นจะเสด็จไปปฏิบัติธรรม ทำให้ไม่ได้ยินคำขอของผู้ไหว้นั่นเอง โดยใช้ของไหว้ดังนี้ ดอกไม้ : เช่น ดอกมะลิ ดาวเรือง ดอกบัว ดอกโมก หรือดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
กำยานและธูป : ใช้จุดได้ทุกกลิ่น
อาหาร : ควรเป็นขนมหวานรสอ่อน เน้นธรรมชาติให้มากที่สุด และห้ามถวายเนื้อสัตว์โดยเด็ดขาด
ผลไม้ : ถวายได้ทุกชนิด แนะนำมะพร้าว สาลี่ ชมพู่ กล้วย เพราะมีความหมายที่ดี ถือเป็นผลไม้มงคลและช่วยเสริมดวงในด้านต่าง ๆ ได้
คาถาบูชาพระพรหม
การบูชาไหว้ศาลพระพรหม ซึ่งเป็นมหาเทพในศาสนาพราหมณ์ จำเป็นต้องสวดบูชาพระพิฆเนศก่อนทุกครั้ง โดยกล่าวคาถาบูชาพระพิฆเนศ “โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา” เพื่อเป็นการขอความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ให้มีโชค มีลาภ และทรัพย์สินเงินทอง สมหวังดังปรารถนา จากนั้นให้กล่าวคาถาบูชาพระพรหม ดังนี้
คาถาบูชาพระพรหม (ทางพราหมณ์ แบบย่อ)
“โอม อหัม ปรัหมา อัสมิ”
คาถาบูชาพระพรหม (ทางพราหมณ์ แบบเต็ม)
“โอมปะระเมสะนะมัสการัม องการะนิสสะวะ รัง พรหมเรสสะยัม
ภูปัสสะวะวิษณุ ไวยะทานะโมโทติลูกปัมทะระมา ยิกยานัง
ยะไวยะลา คะมุลัม สะทา นันตะระ วิมุสะตินัน นะมัตเต
นะมัตเตร จะ อะการัง ตโถวาจะ เอตามาตาระยัต ตะมัน ตะรามา
กัตถะนารัมลา จะสะระวะ ปะติตัม สัมโภพะกลโล ทิวะทิยัม มะตัมยะ”
คาถาบูชาพระพรหม (ทางพุทธ)
ตั้งนะโม 3 จบ พร้อมกล่าวคำบูชาว่า
“โอม พรหมมะเณ ยะนะมะ
โองการพินทุ นาถังอุปปันนาถัง
สุอาคะโต ปัญจะปะทุมมัง
พรหมมาสะหัมปะตินามัง ทิสสะวา
นะโมพุทธายะ วันทานัง”
ในการไหว้เทวรูปพระพรหม หากไม่แน่ใจว่าเป็นทางพราหมณ์หรือทางพุทธ สามารถสวดคาถาบูชาบทใดบทหนึ่งก็ได้ หรือจะสวดทั้ง 2 แบบเลยก็ได้เช่นกัน
วิธีการไหว้พระพรหมที่บ้าน
พักตร์ที่ 2 ทางด้านทิศตะวันออก : บูชาขอพรเรื่องทรัพย์สินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน รถ ที่ดิน รวมถึงเงินหรือหนี้สินที่คนยืมไปแล้วไม่คืนด้วย โดยมีของไหว้เป็นธูป 36 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก และน้ำ 1 ขวด
พักตร์ที่ 3 ทางด้านทิศใต้ : บูชาขอพรเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวและสุขภาพ โดยมีของไหว้เป็นธูป 39 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก และน้ำ 1 ขวด
พักตร์ที่ 4 ทางด้านทิศตะวันตก : บูชาขอพรเรื่องเงินทอง โชคลาภ การเสี่ยงดวง และการขอลูก โดยมีของไหว้เป็นธูป 19 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก และน้ำ 1 ขวด
เคล็ดลับวิธีขอพร : เราสามารถขอพรเรื่องที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละพักตร์ได้ หรือถ้าจำไม่ได้ว่าพักตร์ใดควรขอเรื่องใด จะขอเรื่องเดียวกันทั้ง 4 พักตร์เลยก็ได้ ส่วนของไหว้จะใช้เป็นธูป 9 ดอก และเทียน 2 เล่ม จุดครั้งเดียวเลยก็สามารถทำได้ ทั้งนี้ การไหว้ขอพรที่ถูกต้องคือ ไหว้ให้ถูกพักตร์ และควรไหว้ให้ครบทุกพักตร์
การไหว้พระพรหมนั้นถือเป็นความเชื่อและศรัทธาของคนไทยที่สืบทอดมายาวนาน ด้วยเชื่อกันว่าพระพรหมจะบันดาลให้สิ่งที่หวังเป็นจริงได้ ซึ่งการกราบไหว้ขอพระศาลพระพรหมมีกรรมวิธีที่แตกต่างกันไปตามความเชื่อของแต่ละศาสนา เราสามารถนำมาปรับใช้และเลือกปฏิบัติได้ตามสะดวก หรือเพียงแค่สงบจิตและระลึกถึงพระพรหม เพียงเท่านั้นก็ถือว่าเป็นการไหว้พระพรหมแล้วค่ะ
การบูชาไหว้พระพรมหม มีความเชื่อกันว่าพระพรหมเป็นองค์เทพที่สามารถลิขิตชะตาชีวิตของมนุษย์ได้ ดังนั้นท่านจะปกป้องคุ้มครองผู้ที่ทำความดี ประพฤติตนดี หากอธิษฐานขอพรในเรื่องใด ก็จะประสบความสำเร็จและสมหวังดั่งที่ปรารถนา แต่ในทางตรงกันข้าม หากผู้ใดที่ทำบาปหรือสิ่งไม่ดี พระพรหมก็จะลิขิตให้คนผู้นั้นพบแต่ความลำบากและมีชีวิตที่ทุกข์ยาก ส่วนการไหว้สักการะบูชาพระพรหม เนื่องจากท่านมี 4 พักตร์ ดังนั้นการจะบูชาท่านต้องบูชาให้ครบทั้ง 4 ทิศ (งาน เงิน ความรัก ภาพรวม) จึงจะได้รับพรครบทุกประการ
คาถาบูชาพระพรหม ไหว้พระพรหมเอราวัณ ผู้ใดสักการะและบูชาพระพรหม จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เป็นที่รักใคร่ของคนทั้งหลาย
คาถาบูชาพระพรหม (แบบพราหมณ์)
โอมปะระเมสะนะมัสการัม องการะนิสสะวะ รัง
พรหมเรสสะยัม ภูปัสสะวะวิษณุ ไวยะทานะโมโทติลูกปัม
ทะระมา ยิกยานัง ยะไวยะลา คะมุลัม
สะทา นันตะระ วิมุสะตินัน
นะมัตเต นะมัตเตร จะ อะการัง ตโถวาจะ
เอตามาตาระยัต ตะมัน ตะรามา
กัตถะนารัมลา จะสะระวะ ปะติตัม
สัมโภพะกลโล ทิวะทิยัม มะตัมยะ
คาถาบูชาพระพรหม (แบบย่อ)
โอม อหัม ปรัหมา อัสมิ
คาถาบูชาพระพรหม (แบบพุทธ)
ตั้งนะโม 3 จบ พร้อมกล่าวคำบูชาว่า
โอม พรหมมะเณ ยะนะมะ
โองการพินทุ นาถังอุปปันนาถัง
สุอาคะโต ปัญจะปะทุมมัง
พรหมมาสะหัมปะตินามัง ทิสสะวา
นะโมพุทธายะ วันทานัง
*** สามารถสวดคาถาบูชาพระพรหมแบบใดแบบหนึ่งก็ได้ หรือจะสวดทุกแบบพร้อมกันเลยก็ได้ ***
วิธีไหว้ขอพรพระพรหม และการเตรียมของไหว้
วิธีสักการะไหว้พระพรหมเริ่มจากการไหว้สักการะพระพรหมจากพักตร์แรก แล้วเวียนขวามือของเรา หรือ พระหัตถ์ซ้ายของพระพรหม จนถึงพักต์สุดท้าย
การขอพรและการเตรียมของไหว้พระพรม แต่ละพักตร์จะแตกต่างกันดังนี้พักตร์แรก ของไหว้คือใช้ธูป 16 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก น้ำ 1 ขวด โดยให้ขอพรเกี่ยวกับเรื่องงาน การเรียน การสอบแข่งขัน ขออำนาจบารมี ขอความก้าวหน้าในชีวิต และขอพรให้บิดา
พักตร์ที่ 2 ของไหว้คือใช้ธูป 36 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก น้ำ 1 ขวด โดยให้ขอพรเรื่องทรัพย์สิน อสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน บ้าน รถ หนี้สินที่มีคนยืมแล้วไม่คืน
พักตร์ที่ 3 ของไหว้คือใช้ธูป 39 ดอก เทียน9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก น้ำ 1 ขวด โดยให้ขอพรเกี่ยวกับสุขภาพ ครอบครัว คู่ชีวิต ญาติพี่น้อง คู่สัญญา และขอพรให้มารดา
พักตร์ที่ 4 ของไหว้คือใช้ธูป 19 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอกน้ำ 1 ขวด โดยให้ขอพรเรื่องโชคลาภ เงินทอง ขอโชค ขอลาภ เกี่ยวกับการเสี่ยงดวง การขอกู้ยืมเงิน และการขอบุตร
แนะนำ สามารถไหว้ขอพรพระพรหมโดยขอพรเฉพาะเจาะจงตามเรื่องนั้นๆ ได้ แต่การไหว้ขอพรที่ถูกต้องคือไหว้ให้ถูกพักตร์ และ ควรไหว้ให้ครบทุกพักตร์เพราะรับพรได้ครบทุกประการ
ปล. พระพรหมในกรุงเทพฯ นอกจากศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหมย่านเซ็นทรัลปิ่นเกล้า และศาลพระพรหมในเทวสถาน(โบสถ์พราหมณ์) ยังมีสถานที่ที่ประดิษฐานพระพรหมที่มีชื่อเสียงอยู่อีกหลายแห่ง เช่น พระพรหมวัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือที่นิยมเรียกกันว่า วัดแขก ย่านสีลม หรือ ศาลพระพรหมแยกคลองขวาง เขตหนองแขม ยังเป็นที่นับถือสักการะของประชาชนในระแวกใกล้เคียงเป็นอย่างมาก
Không có nhận xét nào:
Đăng nhận xét